บุหรี่ไฟฟ้า พบกลุ่มเด็กเยาวชนไทยสูบเพิ่มมากขึ้น

บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่างๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่  ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และน้ำยา

ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบคนไทย สูบบุหรี่ไฟฟ้า เกือบ 8 หมื่นคน

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 เผยคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้อายุ 15-24 ปี 24,050 คน และผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มเด็กนักเรียนไทยเพิ่มจากร้อยละ 3.3 ปี 2558 เป็น ร้อยละ 8.1 ในปี 2564

วันนี้ (31 พ.ค.2566) นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบ ได้กำหนดประเด็นรณรงค์เนื่องวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 คือ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” เพื่อมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงให้ประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เกิดความตระหนักถึงปัญหาและอันตรายของสารพิษในบุหรี่ไฟฟ้า

เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินเข้มข้นที่เสพติดได้ง่ายกว่าบุหรี่ธรรมดา กระบวนการเผาไหม้ของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการเผาไหม้ที่ใช้ความร้อนสูงกว่าบุหรี่มวน ทำให้เกิดการเผาไหม้ของโลหะหนักที่ผสมในสารแต่งกลิ่นสีก่อให้เกิดมะเร็ง และเกิดละอองไออนุภาคขนาดเล็กเข้าสู่ปอด(PM 2.5)

เนื่องจากละอองไอของบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีอันตรายหลายชนิด ได้แก่ นิโคติน โพรพิลีน ไกลคอล สารแต่งกลิ่น สารก่อมะเร็ง โลหะหนัก เช่น อะลูมิเนียม ตะกั่ว ปรอท สังกะสี คาร์บอนิล อิพอกไซด์ โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮดรอกซีคาร์บอน(PAHs) รวมถึงยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง ทั้งคนสูบและคนรอบข้างที่ได้รับควันหรือละอองไอสีขาวจากบุหรี่ไฟฟ้า

ในประเทศไทย มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 พบว่ามีคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน เป็นเพศชาย 71,486 คน เพศหญิง 7,256 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี 24,050 คน และจากผลการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและองค์การอนามัยโลก พบว่า เยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กนักเรียนไทย (อายุ 13-15 ปี) เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 3.3 ในปี 2558 เป็น ร้อยละ 8.1 ในปี 2564

บุหรี่ไฟฟ้า มีสารประกอบหลักคือ

  • นิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ปกติทั่วไป เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่
  • โพรไพลีนไกลคอล เป็นส่วนประกอบในสารสำหรับการทำให้เกิดไอ
  • กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้นที่จะผสมผสานกับสารโพรไพลีนไกลคอล  องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล
  • สารแต่งกลิ่นและรส เป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

สารเคมีชนิดต่างๆ ที่พบในน้ำยาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น

  • นิโคติน
    เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร และตับอ่อน นอกจากนี้นิโคตินยังกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ซึ่งสารนี้ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน  นิโคตินกระตุ้นให้จำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง สำหรับหญิงตั้งครรภ์นิโคตินส่งผลต่อการพัฒนาของสมองทารกในครรภ์ การได้รับสารนิโคตินในระดับที่สูง (60 mg. ในผู้ใหญ่ และ 6 mg ในเด็กเล็ก) เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • โพรไพลีนไกลคอล และสาร Glycerol/Glycerin
    เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า เป็นยาเสพติดและผิดกฎหมายหรือไม่

แน่นอนว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด ดังนั้นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงทำให้ผู้สูบ “ติด” ได้ไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา นอกจากนี้รูปแบบและขั้นตอนในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็มีความใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่ธรรมดามาก ทำให้ผู้สูบยังคงติดในพฤติกรรมการสูบเหมือนบุหรี่ธรรมดา

หากสังเกตในต่างประเทศจะพบว่า โฆษณาของบุหรี่ไฟฟ้ามีลักษณะการใช้ข้อความจูงใจหรือจุดขายไม่ต่างไปจากบุหรี่ธรรมดา เช่น การเพิ่มเสน่ห์ในทางเพศ ทำให้อารมณ์ดี ซึ่งส่งผลในทางจิตวิทยาให้ผู้สูบมีความเชื่อ ฝังใจในคุณสมบัติเหล่านั้นและดำรงพฤติกรรมการสูบมาเรื่อยๆ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโฆษณาของบุหรี่ไฟฟ้ายังเน้นถึงข้อดีบางอย่างที่เหนือกว่าบุหรี่ เช่น การมีรสชาติที่หลากหลายกว่า ดีต่อสุขภาพมากกว่า มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยและหลากหลายกว่า ไม่มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าจุดขายเหล่านี้ย่อมดึงดูดและทำให้ผู้สูบมีแนวโน้มที่จะติดกับการสูบได้มากขึ้นด้วย

ถ้าอยากเลิกบุหรี่ธรรมดา การหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยได้หรือไม่ ?

จุดขายอย่างหนึ่งของบริษัทบุหรี่ไฟฟ้า คือ การพยายามนำเสนอว่า การหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ธรรมดา ซึ่งถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากกว่า  โดยหยิบยกงานวิจัยต่างๆ ที่ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่า และทำให้ผู้สูบลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลงได้ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ภายหลังได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการในวงกว้างแล้วพบว่า เป็นงานวิจัยที่ไม่ได้ทำตามระเบียบวิธีการวิจัยอย่างถูกต้อง มีอคติ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ทำการวิจัยที่ชัดเจน จึงไม่ได้รับการยอมรับในทางวิชาการอีกต่อไป

ในขณะที่อีกด้านหนึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากกว่าที่ทำอย่างถูกต้อง และให้ผลสรุปในทางตรงกันข้าม คือ การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลงเลย ร้ายไปกว่านั้นยังทำให้อัตราการสูบบุหรี่โดยรวมทั้งธรรมดาและไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นไปอีก โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการที่มีนิโคตินเหมือนๆ กัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน การที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่สูบบุหรี่ (ไม่ว่าจะเริ่มจากชนิดไหน) ท้ายที่สุดก็จะมีการแลกเปลี่ยน ทดลองกันภายในกลุ่มจนคุ้นเคยกับทุกๆ รูปแบบ เพราะเป็นสิ่งที่ทดแทนกันได้ ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศห้ามอย่างเป็นทางการมิให้บริษัทบุหรี่โฆษณาว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้ เพราะขัดกับข้อมูลจากการวิจัยอย่างชัดเจน

บุหรี่ไฟฟ้าผิดตามกฎหมาย

ขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้าม บุคคลที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในความครอบครอง ถือว่ามีความความผิดทั้งผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้ เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นความผิดซึ่งหน้าสามารถเข้าจับกุมได้  กรณีเป็นผู้นำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจำหน่ายจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดในฐานครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ

4 ตัวช่วย “เลิกบุหรี่” 

  • มะนาว เปลือกมะนาวมีผลต่อต่อมรับรสขม ทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไป โดยหั่นมะนาวทั้งเปลือกเป็นชิ้นพอคำ กินทุกครั้งเมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่
  • ชาหญ้าดอกขาว มีฤทธิ์ทำให้ลิ้นชา ส่งผลให้ความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ลดลง และเมื่อสูบบุหรี่หลังจากดื่มชาหญ้าดอกขาวจะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน โดยกินครั้งละ 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 100-200 มิลลิลิตร หลังอาหารวันละ 3-4 ครั้ง แต่อาจมีอาการปากแห้ง คอแห้ง และควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากชาหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง
  • กานพลู สารสำคัญในดอกกานพลู ทำให้เกิดอาการชาในปากเล็กน้อย ทำให้อาการอยากสูบบุหรี่ลดลง อีกทั้งน้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลู ช่วยทำให้ทางเดินหายใจหอมสดชื่น และช่วยลดกลิ่นปากได้ โดยใช้ดอกกานพลู 2-3 ดอก อมไว้ในปาก 5-10 นาที
  • การฝังเข็ม ช่วยทำให้ผู้ติดบุหรี่มีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ลดลง หรือ ถึงขั้นเลิกสูบบุหรี่ได้ เนื่องจากการฝังเข็มมีผลทำให้เพิ่มการหลั่งสาร serotonin ในสมองส่วน hypothalamus ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกอยาก หรือเบื่ออาหาร การย่อยอาหาร และควบคุมการนอนหลับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
นอกจากนี้ยังพบสารประกอบอีกมากมายในไอของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีข้อมูลว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde และกลุ่ม Benzene เป็นต้น จากการวิจัยยังพบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA ในเซลล์ปอด หัวใจ และกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

ที่มา

 

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่  mayfieldscleaners.com

สนับสนุนโดย  ufabet369