ผลการสำรวจพบว่า นักศึกษาจีนส่วนใหญ่มองหา “งานมั่นคง” มากกว่า “งานยืดหยุ่น”

นักศึกษาจีน หลายคนหลังจากผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ก็ปล่อยตัวเองไปกับสภาพแวดล้อมและตามสังคมที่ตัวเองอยู่ ผู้ปกครองต้องส่งค่าครองชีพให้ ทั้งค่ากิน ค่าโทรศัพท์ ค่าอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายของนักศึกษาจีนมีดังนี้

  1. 0-800 หยวน หรือคิดเป็นเงินไทย 0-4,000 บาท (คิดตามอัตรา1ต่อ5) ค่าครองชีพระดับนี้จะมีบิลรายเดือนของค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ แม้ว่าจะไปโรงอาหารตามปกติ แต่ก็ยังใช้จ่าย 800 หยวนต่อเดือนสำหรับค่าครองชีพ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต นักศึกษาอาจต้องพิจารณาว่าจะต้องสร้างรายได้จากการทำงานในเวลาว่าง
  2. 800-1,500 หยวน หรือคิดเป็นเงินไทย 4,000-7,500 บาท ค่าครองชีพระดับนี้สำหรับค่าอาหารและเสื้อผ้า แต่ถ้าต้นเดือนใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ปลายเดือนก็จะลำบาก อย่างไรก็ตาม หากกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว ค่าครองชีพเป็นพันหยวนก็ค่อนข้างไม่พอใช้จ่าย จึงต้องใช้ชีวิตอย่างประหยัดเพราะค่าใช้จ่ายในเมืองใหญ่นั้นสูงมาก
  3. 1,500-2,500 หยวน หรือคิดเป็นเงินไทย 7,500-12,500 บาท ค่าครองชีพระดับนี้จะสามารถใช้ชีวิตได้ดีในเมืองปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว เงินจำนวนเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับนักศึกษาจีนที่จะใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ตาม นอกจากกินดื่มเที่ยวเล่นสนุกสนานแล้ว ก็ยังมีการใช้เงินในเรื่องของความรักด้วย เพราะเมื่อพวกเขามีความรัก ก็มักจะต้องออกไปเดต ไปช้อปปิ้ง และกินข้าวกับแฟน ค่าใช้จ่ายจึงค่อนข้างสูง ค่าครองชีพระดับนี้จึงไม่เพียงพอต่อคู่รักหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัย
  4. 2,500-4,000 หยวน หรือคิดเป็นเงินไทย 12,500-20,000 บาท ค่าครองชีพระดับนี้จะเป็นนักศึกษาที่ค่อนข้างมีฐานะร่ำรวยอยู่แล้ว ไม่เพียงแต่ไม่กินข้าวในโรงอาหารเท่านั้น แต่ยังมักจะออกไปกินข้าวข้างนอกกับเพื่อนๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเงินเพียงพอสำหรับการที่ชวนแฟนไปทานอาหารเพื่อสร้างบรรยากาศสุดโรแมนติก
  5. มากกว่า 4,000 หยวน หรือมากกว่า 20,000 บาท ค่าครองชีพระดับนี้จะเป็นนักศึกษาที่รวยแต่มักจะใช้เงินตามใจตัวเอง ไม่ได้สนใจว่าของจะถูกหรือแพง เพราะพวกเขาจะเลือกของที่ตัวเองชอบเท่านั้น บางคนก็เลือกที่จะเช่าบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ได้อยู่หอ ชีวิตค่อนข้างมีสีสันและมีเพื่อนฝูงมากมาย

 

นักศึกษาจีน

สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์จัดหางาน “จาวพิ่น” ( Zhaopin ) ว่านักศึกษาจีนกลุ่มที่ทำแบบสำรวจส่วนใหญ่ สนใจตำแหน่งงานซึ่งมีความมั่นคงในบริษัทเอกชนชั้นนำ หรือบริษัทของรัฐ มากกว่าตำแหน่งงานที่มีความยืดหยุ่น แต่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

ทั้งนี้ บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ยังคงเป็นตัวเลือกอันดับต้นในตลาดหางาน ขณะเดียวกัน มีผู้ตอบแบบสอบถามราวร้อยละ 26 แสดงความเต็มใจ จะทำงานในบริษัทขนาดเล็กและขนาดย่อม

ขณะที่นักศึกษาจีนระดับปริญญาตรียังคงครองสัดส่วนใหญ่ในหมู่ผู้หางาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สรรหาพนักงานมีแนวโน้มเลือกนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอกมากกว่า โดยอัตราการได้รับข้อเสนอตำแหน่งงาน เมื่อรวบรวมข้อมูลถึงกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา แบ่งเป็นบัณฑิตปริญญาตรี ราวร้อยละ 47.5 บัณฑิตอาชีวะ ราวร้อยละ 54.4 และบัณฑิตปริญญาโท หรือปริญญาเอก ร้อยละ 56.7

การขาดแคลนชุดทักษะที่จำเป็นและการขาดแคลนความเต็มใจรับตำแหน่งทางเทคนิคในบริษัทต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีแนวโน้มได้รับข้อเสนอตำแหน่งงานน้อยกว่า

ระบบการศึกษาจีน

ระบบการศึกษาของจีนถือเป็นระบบการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยนักเรียนที่ศึกษาอยู่ภายใต้ระบบการศึกษาของจีนนั้นคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 20 จากทั่วโลก รัฐบาลจีนจึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างมาก เหนือกว่าการพัฒนาด้านอื่นๆ

ตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ออกกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีพร้อมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณการศึกษาแก่นักเรียนจีน โดยในปัจจุบัน คาดว่าจะมีประชากรราวร้อยละ 93 ของประชากรทั่วประเทศที่จบการศึกษาภาคบังคับนี้ นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนให้หน่วยงานทุกระดับและภาคเอกชนมีบทบาทในการลงทุนหรือการบริหารจัดการการศึกษาอีกด้วย

ระบบการศึกษาจีนมีลักษณะคล้ายกับของสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ไทย และประเทศอื่นๆ จึงมีความสะดวกสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่จะเดินทางมาศึกษาต่อประเทศจีน อีกทั้งยังมีสถาบันการศึกษาหลายระดับเพื่อรองรับนักเรียนนักศึกษาต่างชาติ โดยเฉพาะในเมืองสำคัญๆ ของจีน เช่นกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครกวางโจว และเมืองเซี่ยเหมิน เป็นต้น

จีนปรับหลักสูตร นักศึกษาจีน ป.ตรี ขยายวิชาเอกเกิดใหม่-ตลาดต้องการด่วน

การอนุมัติการจัดตั้งหลักสูตรระดับปริญาตรีในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน 1,672 หลักสูตร ทั้ง เวชศาสตร์ป้องกันและความมั่นคงทางไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาสาขาวิชาเอกที่เกิดใหม่และจำเป็นเร่งด่วน การทรวงศึกษาธิการของจีนระบุว่าหลักสูตรระดับปริญาตรี หลักสูตรใหม่ต่างๆ ยังรวมถึงสาขาการฟื้นฟูด้วยการแพทย์จีน ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาศาสตร์ข้อมูลและเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า

กระทรวงศึกษาธิการ ยังได้เพิ่มวิชาเอกใหม่ จำนวน 181 สาขา ในรายการวิชาเอกระดับปริญาตรีของรัฐ อาทิ วิชาเอกเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน วิชาเอกวิศวกรรมบล็อกเชน และวิชาเอกการจัดการเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังระบุว่า มีการบังคับใช้แนวทางควบคุมอันเข้มงวดในการจัดตั้งสาขาวิชาที่มีความต้องการสูง อาทิ การจัดการธุรกิจ การบัญชี และการท่องเที่ยว เพื่อเป็นแนวทางแก่วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในการจัดฝึกอบรมผู้ที่มีความสามาถ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

สถานศึกษา ป.ตรีจีน ผลักดันการเรียนรู้นวัตกรรม-กรเป็นผู้ประกอบการ ให้กับ นักศึกษาจีน

รายงานคุณภาพการศึกษาระดับปริญาตรีแห่งชาติปี 2018 ที่ออกโดยกระทรวงศึกษาธิการจีนระบุว่า มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของจีนได้เดินหน้าส่งเสริมนวัตกรรมและกรเป็นผู้ประกอบการตลอดกระบวนการศึกษา โดยระบุว่ามีนักศึกษามากกว่า 3 แสนคนที่ลงทะเบียนในโครงการฝึกอบรมด้านนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ นักเรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูง 452 แห่ง สามารถขอรับหน่วยกิจ จากการเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ และโครงการทางด้านการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมต่างๆ สถานศึกษาเหล่านี้ผลักดันการปฏิรูปและฝึกอบรมบุคลากรด้านนวัตกรรมมาตลอด โดยได้เสนอการสอนภาคปฏิบัติและชั้นเรียนเสมือนจริงแทนที่การสอนในชั้นเรียนแบบเดิม ทั้งยังบูรณาการระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติจริงด้วย

สรุป จากการสำรวจพบว่านักศึกษาจีนมองหางานมั่นคง มากกว่างานยืดหยุ่น จีนคาดยอดบัณฑิต ป.ตรี แตะ 3 ล้านคน นักศึกษาจีนพอใจสภาพแวดล้อมการเรียนมากขึ้น

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)

ประเทศจีน มีมหาวิทยาลัยทั้งหมดกี่แห่ง ?

  • มีมหาวิทยาลัย ทั้งหมด 732 แห่ง

ค่าเทอมของมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศจีนเท่าไร ?

  • ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3,300 และ 10,000 USD ต่อปี (ประมาณ 109,800 – 332,000 บาท)ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษอยู่ระหว่าง 2,200 ถึง 4,500 USD ต่อปี (ประมาณ 73,000 – 149,000 บาท)หลักสูตรด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ และบริหารธุรกิจอยู่ที่ระหว่าง 24,000 ถึง 50,000 USD ต่อปี (ประมาณ 798,000 บาท – 1.6 ล้านบาท)

ค่าเทอมของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศจีนเท่าไร ?

  • นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยเอกชนของจีนแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยเอกชนจากสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษที่มีวิทยาเขตเปิดสอนในจีนอีกจำนวนมาก โดยค่าเล่าเรียนเริ่มต้นที่ 8,000 USD ต่อปี และสูงสุดได้ถึง 15,000 USD ต่อปี (ประมาณ 266,000 – 499,000 บาท)

นักศึกษาต่างชาติที่เรียนจบจากจีนแล้ว สามารถหางานอะไรทำได้บ้าง ?

  • ล่าม
  • มัคคุเทศน์
  • ครูสอนภาษาจีน
  • แอร์โฮสเตส
  • นักแปล
  • พนักงานบริษัทจีน

ที่มา

XINHUA

GETTY IMAGES

https://www.msn.com/th-th/news/world/

https://jinbu-scholarship.com/stusalary /

https://www.blockdit.com/

 

ติดตามอ่านเรื่องราวรอบโลกได้ที่  mayfieldscleaners.com